-

โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะดัน

 

ประวัติความเป็นมา

        ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2470  มีนายพัน และ นางปุ่น  นิตยสุทธิ์  ได้บริจาคที่ดิน เพื่อก่อสร้างเป็นสุขศาลาและเปิดทำการให้บริการด้านสุขภาพอนามัยแก่ประชาชน

ปี พ.ศ. 2490 ยกระดับเป็นสถานีอนามัยชั้น 2

        ปี พ.ศ.2536 ได้รับงบประมาณในการก่อสร้างสถานีอนามัยขนาดใหญ่ เนื่องจากพื้นที่เดิม      คับแคบ สภาตำบลท่าช้าง มีมติให้ก่อสร้างอาคารหลังใหม่บริเวณที่ดินสาธารณะ บ้านมะดัน  หมู่ที่  10   ตำบลท่าช้าง อำเภอจักราช  จ.นครราชสีมา  จำนวน 8 ไร่ 3 งาน

        ปี 2538  ย้ายมาเปิดบริการ ณ อาคารหลังใหม่ ที่บ้านมะดัน  หมู่ที่ 10    ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ   จ.นครราชสีมา ตั้งแต่วันที่  7 มกราคม  2538  จนถึงปัจจุบัน

        ปี 2547 จัดตั้งเป็นศูนย์แพทย์ชุมชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ เพื่อเป็นหน่วยบริการประจำของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ

        ปี 2553  ยกระดับเป็นโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะดัน

            ปี 2565  ถ่ายโอนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา  วันที่ 3 ตุลาคม 2565 ถึงปัจจุบัน

 

      ทำเนียบหัวหน้าหน่วยบริการปฐมภูมิ

      1. นางปราณีต พุทธชนม์ ตำแหน่ง หัวหน้าสถานีอนามัย ดำรงตำแหน่ง ปี พ.ศ. 2518 -2540

       2. นางกนกวรรณ ขุนเพชรวรรณ ตำแหน่งหัวหน้าสถานีอนามัย ดำรงตำแหน่ง  พ.ศ. 2540 –2546

      3. นายแพทย์นิวัฒน์ชัย นามวิชัยศิริกุล ตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์แพทย์ชุมชนอำเภอเฉลิมพระเกียรติ ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ. 2546 – 2549

      4. นางกนกวรรณ ขุนเพชรวรรณ ตำแหน่งเจ้าหน้าที่บริหารงานสาธารณสุข  7  ดำรงตำแหน่ง  พ.ศ. 2549 –2552

      5. นางกนกวรรณ  ขุนเพชรวรรณ        ตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำรงตำแหน่ง  พ.ศ. 2553 –2558

       6. นางณัทกาญจน์  โกมารทัต   ตำแหน่งพยาบาลวิชาชีพชำนาญการ  รักษาการตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำรงตำแหน่ง  พ.ศ. 2558 –2559

      7. นางปทิตตา   ทองสุขนอก  ตำแหน่ง  พยาบาลวิชาชีพชำนาญการรักษาการตำแหน่ง  ผู้อำนวยการโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ดำรงตำแหน่ง  ปี  พ.ศ.  2560  –  ปัจจุบัน

 

Map 

 

ข้อมูลทั่วไป

        ตำบลท่าช้าง  เป็น 1 ใน  5 ตำบล ของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  จังหวัดนครราชสีมา   ห่างจากที่ว่าการอำเภอเฉลิมพระเกียรติทางทิศเหนือ  ระยะทางประมาณ  0.5 กิโลเมตร   และเป็นที่ตั้งของอำเภอเฉลิมพระเกียรติ  ซึ่งแบ่งเขตการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็น 2 ส่วนคือ  เทศบาลตำบลท่าช้าง และ องค์การบริหารส่วนตำบลท่าช้าง มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ  106 ตารางกิโลเมตร 

       ประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ  ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่  ทำนา ปลูกมันสำปะหลัง ปลูกอ้อย ปลูกผัก รองลงมาคือรับจ้าง  เนื่องจากอำเภอเฉลิมพระเกียรติ มีเขตพื้นที่ติดกับเขตเมืองซึ่งมีเขตอุตสาหกรรมสุรนารี   ทำให้วัยแรงงานบางส่วนเข้าไปทำงานเป็นพนักงานในเขตอุตสาหกรรม ซึ่งมีรถรับส่งพนักงานทุกวัน 

       ตำบลท่าช้าง แบ่งการปกครองออกเป็น 16 หมู่บ้าน 1 ชุมชน มีหน่วยบริการสาธารณสุขในพื้นที่ 2 แห่ง ประกอบด้วย หน่วยบริการปฐมภูมิ(PCU) โรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ และ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะดัน

       โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลมะดัน ตำบลท่าช้าง มีที่ตั้งเลขที่  139 ถนนมะดันรัฐซอย 4  หมู่ที่10 บ้านมะดัน ตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา ห่างจากโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา 22 กิโลเมตร  และห่างจากโรงพยาบาลเฉลิมพระเกียรติ 3  กิโลเมตร

         หมู่บ้านในเขตรับผิดชอบทั้งสิ้น 7   หมู่บ้าน  แบ่งเป็นในเขต อบต. 5 หมู่บ้าน ในเขตเทศบาล 2 หมู่บ้าน  รวมทั้งสิ้น 909 หลังคาเรือน  มีวัดพุทธ  2 แห่ง โรงเรียนประถมศึกษา 3 แห่ง  ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก 1 แห่ง   องค์การบริหารส่วนตำบล 1 แห่ง  อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน 70 คน

 

 

ข้อมูลด้านประชากร

       ประชากร 3,392 คนแบ่งเป็นเพศชาย ร้อยละ 49.2  เพศหญิง ร้อยละ 50.8  ประชากรส่วนใหญ่อยู่ในวัยทำงาน

ลำดับที่

ชื่อหมู่บ้าน

หมู่ที่

หลังคาเรือน

( หลัง )

ประชากร ( คน )

อสม.

( คน)

เจ้าหน้าที่รับผิดชอบ

ชาย

หญิง

รวม

1

2

3

4

5

6

7

บ้านขาม

บ้านสามแคว

บ้านหนองบัวรี

บ้านด่านท่าแดง

บ้านมะดัน

บ้านใหม่

บ้านพิมาน

1

4

5

6

10

12

15

106

104

98

63

206

117

175

214

241

177

125

342

241

329

229

233

200

145

391

225

300

443

474

377

270

733

466

629

7

10

9

5

15

10

14

ปทิตตา

วิริภา

ปทิตตา

พรทิพา

พรทิพา

วิริภา

วัลลภ

รวม

909

1,669

1,723

3,392

70